• ข้อกำหนดหลัก
• นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
• ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับ
• การส่งบทความ
• กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ
ข้อกำหนดหลัก
1. บทความที่จะลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
2. ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาก่อนเท่านั้น
นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดรับพิจารณาทั้งบทความวิชาการและบทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการจัดการ บริหารธุรกิจ และนิเทศศาสตร์ โดยมิได้จำกัดเพียงเฉพาะจากคณาจารย์ภายในคณะวิทยาการจัดการหรือภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังเปิดกว้างสำหรับคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา หรือผู้สนใจภายนอกด้วย อย่างไรก็ดี บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องก่อนลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร และจะต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงสาระประโยชน์ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงปฏิบัติต่อผู้อ่านอย่างชัดเจน
สำหรับขอบเขตของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จะครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านการจัดการ บริหารธุรกิจ และนิเทศศาสตร์ อาทิ
- การจัดการทั่วไป
- การบัญชี
- การเงินและการธนาคาร
- การตลาด
- เศรษฐศาสตร์
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์
- ธุรกิจระหว่างประเทศ
- การประกอบการและธุรกิจบริการ
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- นิเทศศาสตร์
- สาขาวิชาอื่นๆที่สัมพันธ์กับศาสตร์ด้านการจัดการ บริหารธุรกิจ และนิเทศศาสตร์
กลับสู่ด้านบน
ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับ
- บทความที่จะส่งเป็นได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในกรณีเป็นภาษาอังกฤษต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยด้วย รวมถึงผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญภาษาก่อนส่งกองบรรณาธิการ
- ผู้ส่งบทความต้องตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ต้นฉบับ อาทิ ตัวสะกด วรรคตอน และความเหมาะสม ความสละสลวยของการใช้ภาษา
- ชื่อของบทความ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และควรมีความกระชับและได้ใจความชัดเจน โดยจัดเรียงอยู่กลางหน้ากระดาษ
- ผู้เขียนต้องระบุชื่อ-นามสกุลจริง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ตำแหน่งวิชาการ (ถ้ามี) ใต้ชื่อบทความโดยชิดขวาหน้ากระดาษ (ในกรณีมีผู้เขียนหลายคนให้เรียงตามสัดส่วนการเขียน)
- บทความทีสรุปมาจากวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ให้ใส่ชืออาจารย์ทีปรึกษา พร้อมตำแหน่งวิชาการ และสังกัด ต่อจากชื่อผู้นิพนธ์ด้วย
- ผู้เขียนต้องระบุสถานที่หรือสังกัดของผู้เขียนทุกคนบทความอย่างชัดเจน รวมถึง E-mail address (ถ้ามี) รวมถึงสังกัดของอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย ในลักษณะ Footnote หน้าแรกของบทความ
- ผู้ส่งบทความต้องเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำสำคัญ (Keywords) อยู่ใต้บทคัดย่อ 3-5 คำ โดยบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีความยาวรวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษขนาด A4
- ต้นฉบับบทความต้องมีความยาวไม่เกิน 15-20 หน้ากระดาษโดยพิมพ์หน้าเดียวกระดาษขนาด A4 (นับรวมบทคัดย่อ รูปภาพ ตาราง และรายการอ้างอิง)
- สูตร สมการ รูปภาพ ตาราง และแผนภูมิ ควรมีประกอบเท่าที่จำเป็น และต้องมีหมายเลขและคำบรรยายกำกับไว้เหนือตารางหรือใต้รูปภาพ โดยให้เรียงลำดับต่อกันไป เช่น ตารางที่ 1,2,3,... หรือ ภาพที่ 1,2,3,...
- บทความภาษาไทย พิมพ์ด้วยฟอนท์ CordiaUPC ขนาด 14 พอยน์
บทความภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยฟอนท์ Times New Roman ขนาด 12 พอยน์
- องค์ประกอบของบทความแต่ละประเภท
11.1 บทความวิชาการ หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนออย่างสมบูรณ์ และมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ โดยมีการสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้ กรอบแนวคิดและทฤษฎีจากแหล่งต่าง ๆ มาสังเคราะห์ โดยที่ผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการผ่านมุมมองของตนเองได้อย่างเด่นชัด และเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน โดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1) บทนำ (Introduction)
2) ลำดับเนื้อหา (Content) ตามความเหมาะสม
3) สรุป (Conclusion)
4) รายการอ้างอิง (References)
11.2 บทความวิจัยควรให้มีการนำเสนอการวิจัยและผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบโดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (สามารถมีหัวข้อหรือองค์ประกอบที่แตกต่างได้ตามความเหมาะสม)
1) บทนำ (Introduction) ที่ครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย
2) วัตถุประสงค์การวิจัย (Objectives)
3) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)
4) ระเบียบวิธีการวิจัย (Research Methodology) ที่สามารถอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย อันได้แก่ วิธีการเก็บรวมรวบข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชัดเจน
5) ผลการวิจัย (Research Finding)
6) สรุปและอภิปรายผลการวิจัย (Discussion and Conclusion)
7) ข้อเสนอแนะ (Recommendation)
8) รายการอ้างอิง (References)
- การอ้างอิงเอกสาร (References)
เพื่อให้การอ้างอิงท้ายบทความเป็นไปในรูปแบบมาตรฐานสากล และเป็นการเตรียมการที่จะเข้าสู่ ACI กองบรรณาธิการจึงได้กำหนดให้เอกสารอ้างอิงทุกฉบับต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงทั้งในเนื้อหาบทความและในตอนท้ายบทความหรือรายการอ้างอิงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ American Psychological Association ฉบับ APA 6th edition โดยจัดให้อยู่ในรูปแบบที่กำหนดอย่างเคร่งครัดและครบถ้วนสมบูรณ์ กล่าวคือ ให้ผู้ส่งบทความเขียนแยกรายการอ้างอิงภาษาไทยอยู่ในหัวข้อ “รายการอ้างอิง” ส่วนรายการอ้างอิงที่เป็นเอกสารภาษาอังกฤษ ให้ระบุอยู่ในหัวข้อ “References” และให้ดำเนินการรแปลรายการอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษ และใส่คำว่า (in Thai). ไว้ด้านหลัง จากนั้นให้นำมาเรียงตามตัวอักษรพร้อมกับเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่างเช่น
รายการอ้างอิง
สมภูมิ แสวงกุล. (2559). เศรษฐศาสตร์มหภาค. กรุงเทพฯ: เอกการพิมพ์
References
Keneth, E. (2005). Organizational Theory (2nd edition). New York: Peth Education.
Sawaengkun, Somphoom. (2016). Macroeconomics. Bangkok: Ek Printing. (in Thai).
สำหรับวิธีการการเขียนอ้างอิงเอกสารตามหลักเกณฑ์ของ APA เป็นไปดังตัวอย่างต่อไปนี้
12.1 การอ้างอิงในเนื้อหา
1) กรณีผู้แต่ง 1 คน ใช้รูปแบบ (ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์, น.เลขหน้า)
(สมชาย, 2543, น.18) (Smith, 1988, p.9) (Smith, 1988, pp.9-20)
2) กรณีผู้แต่ง 2 คน ใช้รูปแบบ (ชื่อผู้แต่ง และ ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์, น. เลขหน้า)
(สมชาย และ นฤมล, 2543, น. 18) (Smith & Torado, 1988, p. 9)
3) กรณีผู้แต่ง6 คนขึ้นไป ใช้รูปแบบ (ชื่อผู้แต่ง และ คณะ, ปีที่พิมพ์, น. เลขหน้า)
(สมชาย และคณะ, 2543, น. 18) (Smith et al., 1988, p. 9)
12.2 การอ้างอิงท้ายบทความหรือรายการอ้างอิง
1. อ้างอิงจากหนังสือ
ใช้รูปแบบชื่อ ชื่อสกุล./(ปี พ.ศ.ที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์)./เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. เช่น
สมชายวงศ์สุรัตน์. (2543). ทฤษฎีองค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วงศ์ศรีสุวรรณ.
Keneth, E. (2005). Organizational Theory (2nd edition). New York: Peth Education.
2. อ้างอิงจากวารสาร
ใช้รูปแบบ ชื่อ ชื่อสกุล./(ปีที่)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่(ฉบับที่)./เลขหน้า-เลขหน้า. เช่น
สมชาย วงศ์สุรัตน์, และ ดุจดาว คำมณี. (2552). การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วารสาร
วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 1 (3), 10–15.
Douangngeune, S. B., Hayami, M., & Godo, W. (2005). Education and natural resources in
economic development: Thailand compared with Japan and Korea. Journal of Asian
Economics, 16 (1), 179-204.
3. อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์
ใช้รูปแบบ ชื่อ ชื่อสกุล./(ปี พ.ศ. ที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./(ชื่อปริญญา) เช่น
สมภพ บุญสูง. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงรับจำนำในเขตกรุงเทพมหานคร.
(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, คณะวิทยาการจัดการ,
สาขาการตลาด.
Santi Mekkasaem. (2010). An Empirical Study of Migration Changes: The Case of Thailand.
(Doctoral Dissertation). Suan Sunandha Rajabhat University, Faculty of Management
Science.
4) อ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ใช้รูปแบบชื่อ ชื่อสกุล./(วัน เดือน ปี ที่ค้นข้อมูล)./ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ./ที่อยู่ของข้อมูล/(URL). เช่น
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (1 เมษายน 2554).รายได้ครัวเรือนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ปี 2540–
2551. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/index.php/rank&location=1
World Bank. (2011, April 4). World Databank : World Development Indicators (WDI). Retrieved
from http://databank.worldbank.org/,ddp/home.do
กลับสู่ด้านบน download เอกสารการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA
การส่งบทความ
1. ผู้ประสงค์ส่งบทความกรุณาส่งต้นฉบับเป็นไฟล์ชนิด Microsoft Word ผ่านระบบ Online Submission ตามแบบฟอร์มบทความที่กำหนด
downloadแบบฟอร์ม
2.ชำระค่าลงทะเบียนตีพิมพ์บทความ 800 บาทต่อบทความ (เมื่อบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ ตามข้อ 3. ในหัวข้อกระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ) โดยโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ชื่อ
"โครงการวารสารวิทยาการจัดการ" เลขที่บัญชี
074-7-57031-5 บมจ.ธนาคารกรุงเทพ สาขามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และโปรดส่งสำเนาใบโอนเงินผ่านระบบ Online Submission ในเมนู แนบหลักฐานการชำระเงิน(โปรดตรวจสอบความถูกต้องหลังดำเนินการโอนเงิน 1-2 วันทำการ
ที่โทรศัพท์ 0-2160-1497) โดยใบเสร็จรับเงินจะถูกจัดส่งให้พร้อมกับเล่มวารสารฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ต่อไป
กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ
วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) อย่างเคร่งครัด จึงกำหนดแนวทางในการพิจารณากลั่นกรองบทความของวารสารฯ ดังนี้
- กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้ส่งบทความทราบเมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยสมบูรณ์
- กองบรรณาธิการจะตรวจสอบของหัวข้อและเนื้อหาของบทความถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร รวมถึงกองบรรณาธิการจะตรวจสอบถึงประโยชน์ทั้งทางด้านทฤษฎีและเชิงการนำไปใช้ในการบริหารธุรกิจ
- ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรให้ดำเนินการส่งบทความเพื่อทำการกลั่นกรองต่อไป ก็จะดำเนินการแจ้งให้ผู้ส่งบทความชำระค่าลงทะเบียนตีพิมพ์บทความตามที่กำหนดไว้ในหัวข้อ “การส่งบทความ (Paper Submission)” แล้วจึงจะดำเนินการจัดส่งบทความให้กับผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ต่อไป (ทั้งนี้การชำระค่าลงทะเบียนตีพิมพ์ดังกล่าวมิได้เป็นการผูกพันว่าบทความจะต้องได้รับการตีพิมพ์ แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของบทความว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะสามารถลงตีพิมพ์ได้ตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิผู้กลั่นกรองบทความ)
- กองบรรณาธิการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน จำนวนอย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ ทำการตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยในกระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่สามารถทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความ (Double-Blind Process)
- เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรจะลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจหรือควรที่จะส่งให้กับผู้ส่งบทความนำกลับไปแก้ไขก่อนพิจารณาอีกครั้งหนึ่งหรือปฏิเสธการลงตีพิมพ์
- เมื่อผู้ส่งบทความได้ทำการปรับแก้บทความเป็นที่เรียบร้อยทุกประเด็นแล้ว ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์ จำนวน 1 ฉบับ และเมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารแล้ว ผู้ส่งบทความจะได้รับวารสารฉบับที่ตีพิมพ์จำนวน 2 ฉบับ
- บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้ส่งบทความทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนแต่อย่างใด
กลับสู่ด้านบน
|