jnssrujnssru2
 
 

จริยธรรมและบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง (Publication Ethics)

      วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ตระหนักและให้ความสําคัญกับจริยธรรมและ บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องหลักในการจัดทำบทความทางวิชาการและการดําเนินงานของกองบรรณาธิการวารสารเอง ไม่ว่าจะเป็นผู้เขียนบทความ บรรณาธิการวารสาร รวมถึงผู้ประเมินบทความ จึงได้ปรับปรุง(*) ข้อกําหนดทางด้าน จริยธรรมและบทบทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นสากลอย่างต่อเนื่อง ดังต่อไปนี้

   บทบาทและหน้าที่ของผู้ขียนบทความ (Duties of Authors)

1. ผู้เขียนบทความต้องรับรองวาผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน

2. ผู้เขียนบทความต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมลู หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

3. ผู้เขียนบทความต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนําผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตัวเอง รวมทั้ง จัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ

4. ผู้เขียนบทความต้องดําเนินการตามนโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความโดยเนื้อหาของบทความ จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร

5. ผู้เขียนบทความต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสารรวมทั้งต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหาตาม ข้อกําหนดที่กองวารสารได้ระบุไว้ใน “คําแนะนําสําหรับผู้ประสงค์ส่งบทความ”

6. ผู้เขียนบทความที่มีชื่อปรากฎในบทความวิจัยทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง

7. ผู้เขียนบทความต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ (ถ้ามี)

8. ผู้เขียนบทความต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

   บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนเอง รับผิดชอบ

2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ส่งบทความและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

3. บรรณาธิการต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดย พิจารณาจากความสําคญั ความทันสมัย

ความชัดเจนตลอดจนความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสําคัญ

4. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว

5. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความเพราะความสงสัยหรือไมแน่ใจแต่จะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์หรือยืนยันข้อสงสัยนั้นๆก่อน

6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ ผู้ประเมิน และทีมผู้บริหาร

7. บรรณาธิการต้องมีหรือจัดให้มีการตรวจสอบบทความในด้านการค้ดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) โดย ใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้เพื่อให้แน่ใจวาบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น*

8. บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยเสมออีกทั้งคงไว้ซึ่งความถูกต้องของ ผลงานทางวิชาการและปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญา

9. หากมีการตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความบรรณาธิการต้องหยุด กระบวนการประเมิน และติดต่อผ้ส่งบทความทันทีเพื่อขอคําชี้แจงในการประกอบการพิจารณา “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆลงในวารสาร

   บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อ พิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality)

2. หลังจากได้รับบทความจากกองบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความสงสัยหรือตระหนักว่า ตนเอง อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ อาทิเป็นผู้ร่วมโครงการ หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทําให้ไม่สามารถ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างเป็นอิสระในทางวิชาการได้ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้กอง บรรณาธิการวารสารทราบและพึงปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ

3. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสําคัญของ เนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควร ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความทางวิชาการนั้นๆ

4. ผู้ประเมินบทความหากตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมินเป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้ง ให้กองบรรณาธิการทราบทันที

5. ผู้ประเมินบทความ ต้องระบุผลงานทางวิชาการที่สําคัญๆ และสอดคล้องกับบทความที่กําลังประเมิน แต่ ผู้เขียนบทความไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย นอกจากนี้หากมีสวนใดของบทความที่มี ความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบด้วย